Intralogistics Smart Robot
การใช้หุ่นยนต์ภายในคลังสินค้าจะกลายเป็นแนวทางหลักสำหรับการจัดการ Warehouse ของธุรกิจทั่วโลกในอนาคต โดย Gartner คาดว่าภายในปี 2026 ธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่กว่า 75% จะมีการใช้หุ่นยนต์ภายในคลังสินค้าเพื่อปรับปรุงกระบวนการในส่วนนี้ให้กลายเป็น Automation
แนวโน้มดังกล่าวนี้ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ และในประเทศไทยเองที่มีโครงข่าย 5G ที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ ก็เริ่มมีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้งานจริงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้วเช่นกัน
Mobile Asset & Shipment Tracking + Inventory Management
เทคโนโลยีในการติดตามตำแหน่งของวัตถุดิบ, สินค้า, หีบห่อ และการบริหารจัดการคลังสินค้าในภาพรวมนั้นจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ต่อยอดในเชิงต่างๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงทำงานร่วมกับระบบ Smart Robot ได้นั่นเอง
ในการติดตามดังกล่าวนี้ เทคโนโลยีที่จะถูกใช้งานนั้นก็ได้แก่ IoT, RFID, eSIM, GPS และ 5G ซึ่งจะมีความเหมาะสมต่อกรณีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป แต่ในเชิงของการเข้าถึงข้อมูลนั้น แนวโน้มหลักคือการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ Smartphone และ Tablet เพื่อให้การทำงานเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา มีความสะดวกคล่องตัว และยืดหยุ่นต่อการทำงานในหลายรูปแบบ โดยอาจมีการผสาน AI เข้ามาใช้เพื่อทำนายแนวโน้มเกี่ยวกับการจัดการคลังสินค้า หรือปรับปรุงตำแหน่งที่จัดเก็บวัตถุดิบหรือสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการใช้งาน
Fleet Management
การบริหารจัดการยานพาหนะขนส่งโดยสารนั้นได้กลายเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาในประเทศไทย จนกลายเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ไปแล้ว เพื่อช่วยให้สามารถติดตามและวางแผนด้านการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
อย่างไรก็ดี เทคโนโลยี Fleet Management เองก็จะยังคงมีวิวัฒนาการต่อไปเพื่อตอบรับต่อโจทย์ด้านความยั่งยืน ที่การติดตามการปล่อยคาร์บอนและการใช้พลังงานในการขนส่งและโลจิสติกส์นั้นจะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการในเชิงของสิ่งแวดล้อมได้แม่นยำยิ่งกว่าเดิม
Last-Mile Delivery
อีกหนึ่งเทรนด์ที่ถูกแยกออกมาต่างหากนั้นก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีในส่วนของ Last-Mile Delivery ที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ผ่านมา โดย Last-Mile Delivery นั้นจะมีความแตกต่างจาก Fleet Management เป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบของยานพาหนะ, เส้นทางที่ใช้, ระยะเวลาในการขนส่ง, กระบวนการในการบันทึกข้อมูลรับส่งของ, ผู้ให้บริการ ไปจนถึงรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ
ด้วยเหตุนี้ Last-Mile Delivery จึงต้องมีเทคโนโลยีเฉพาะในการติดตามและบริหารจัดการที่แตกต่างจาก Fleet Management โดยจะมีการใช้ 5G ผสมผสานกับ Mobile เป็นหลัก เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเปิดรับผู้ให้บริการรายใหม่ๆ และบันทึกข้อมูลได้ง่าย แต่สิ่งที่ยังเหมือนกันอยู่นั้นก็คือแนวโน้มด้านการติดตามการใช้พลังงานและการปล่อยคาร์บอนเพื่อเหตุผลด้านความยั่งยืน
Predictive Maintenance
แน่นอนว่าเมื่อยานพาหนะนั้นคือหัวใจหลักของการขนส่งและโลจิสติกส์ การดูแลรักษายานพาหนะเหล่านี้ให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องยาวนานจึงเป็นหัวใจสำคัญ ดังนั้นเทคโนโลยีด้านการทำ Predictive Maintenance ที่เคยถูกนำไปใช้ในการซ่อมบำรุงดูแลรักษาเครื่องจักร จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้กับยานพาหนะด้วยเช่นกัน โดยต้องอาศัยความสามารถของ 5G ร่วมกับ IoT และ Cloud เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลจากยานพาหนะมาทำการวิเคราะห์ประมวลผลค้นหาความเสี่ยงที่ยานพาหนะจะเสียหาย และทำการซ่อมบำรุงก่อนที่จะเกิดความสูญเสียใดๆ ขึ้น
Supply Chain Management, Smart Operations & Actionable AI
การขนส่งและโลจิสติกส์นั้นยังเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของ Supply Chain ในธุรกิจแทบทุกประเภท ดังนั้นเทคโนโลยีด้านการทำ Supply Chain Management จึงมีบทบาทสำคัญที่จะเข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงการขนส่งและโลจิสติกส์อีกทางหนึ่ง
แนวคิดหนึ่งที่เกิดขึ้นมาเพื่อเสริมระบบ Supply Chain Management นั้นก็คือ Smart Operations ที่จะผสานรวมทั้งข้อมูลของการผลิต, การให้บริการ และการขนส่งโลจิสติกส์เข้าด้วยกัน โดยครอบคลุมไปถึงการจัดการคลังสินค้าและการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศเข้าไปด้วย เพื่อให้สามารถทำการวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลในภาพรวมทั้ง Supply Chain ได้อย่างครบถ้วน และตัดสินใจได้บนข้อมูลที่แม่นยำเพื่อค้นหาแนวทางในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของธุรกิจได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด
นอกจากนี้ การประยุกต์นำ Advanced Analytics (AA) และ AI เข้ามาใช้ในวงการขนส่งและโลจิสติกส์เองก็กำลังได้รับความสนใจ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาจากข้อมูลปริมาณมหาศาลที่มีความซับซ้อนสูงใน Supply Chain ทั้งหมด และช่วยในการตัดสินใจเมื่อพบเจอปัญหาใหม่ๆ ในแต่ละวัน จนเทคโนโลยีเหล่านี้ได้เริ่มกลายเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งภายในระบบ Supply Chain Management เป็นอีกกรณีที่น่าจับตามองนอกเหนือจากการใช้งาน AI ภายใน Smart Robot
Supply Chain Twin & Edge Computing
Gartner นั้นได้ทำนายว่าภายในปี 2025 การตัดสินใจด้าน Supply Chain กว่า 25% จะเกิดขึ้นบนระบบ Edge Computing ที่จะเป็นศูนย์รวมข้อมูลจากทั้ง Supply Chain Network จนเกิดเป็น Supply Chain Twin ขึ้นมา ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจต่างๆ ในแบบ Real-Time มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต
แน่นอนว่าหากธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ต้องการมุ่งไปสู่ภาพดังกล่าว เทคโนโลยีที่จะต้องนำมาใช้งานนั้นก็จะต้องรวมถึง 5G, Edge Computing, IoT และ Sensor ที่จะเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลในการสร้าง Supply Chain Twin และ Edge Computing Infrastructure ขึ้นมา
Industry Cloud Platform & Supply Chain Integration Services
การใช้งาน Software สำหรับบริหารจัดการ Supply Chain นั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้ Industry Cloud Platform ซึ่งเป็นบริการ Cloud ที่ปรับแต่งมาโดยเฉพาะสำหรับการรองรับธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ โดยนอกจากจะมี Software หลักอย่าง Supply Chain Management, Warehouse Management, Inventory Management, Fleet Management, Last-Mile Management, Edge Management แล้ว เครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาระบบต่อยอดหรือใช้งานข้อมูลให้เกิดประโยชน์มากขึ้นอย่าง Low-Code Platform, Data Analytics, Machine Learning, AI และอื่นๆ ก็จะถูกผนวกรวมเข้ามาให้พร้อมนำไปประยุกต์ใช้งานได้อีกด้วย
อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าจับตามองมากนั้นก็คือ Supply Chain Integration Services ที่จะช่วยผสมผสานข้อมูลทั้งหมดในระบบที่เกี่ยวข้องกับ Supply Chain ที่หลากหลายไปจนถึงระบบอื่นๆ ซึ่งจะทำให้ปัญหาด้านการผสานรวมข้อมูลที่ซับซ้อนมาใช้งานร่วมกันนั้นกลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายและเป็นระบบระเบียบยิ่งกว่าเดิม ช่วยเร่งความเร็วในการทำ Digital Transformation ได้เป็นอย่างดี
Employee Engagement & Safety
ถึงแม้การนำหุ่นยนต์มาใช้งานในอุตสาหกรรมนี้จะเป็นประเด็นสำคัญ แต่พนักงานเองนั้นก็มีความสำคัญที่สูงกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เสียอีก ดังนั้นอีกหนึ่งเทรนด์สำคัญของวงการจึงเป็นการติดตามและสื่อสารกับพนักงาน รวมถึงการดูแลรักษาความปลอดภัยของพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเช่นกัน
แนวโน้มนี้ได้ครอบคลุมถึงเทคโนโลยีที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นระบบ Human Resource Management ที่สามารถสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นจากพนักงานได้, การสื่อสารกับพนักงานผ่าน Mobile Application ได้อย่างคล่องตัว, การสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน, การฝึกอบรมพนักงานผ่านระบบ Virtual Reality/Mixed Reality, การใช้ Wearable Device หรือ Video Analytics เพื่อติดตามความปลอดภัยของพนักงาน, การดูแลสุขภาพจิตพนักงาน และอื่นๆ อีกมากมาย
Cyber Resilient Supply Chain
สุดท้าย เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม การรักษาความมั่นคงปลอดภัยก็จะเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ แต่ก็เป็นความท้าทายอย่างมหาศาลต่อธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ที่มักไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน
ความเสี่ยงด้านไซเบอร์ในอุตสาหกรรมนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรเฝ้าระวัง เพราะเทคโนโลยีที่ถูกใช้งานนั้นมีความหลากหลาย และมีความเกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานหลายกลุ่ม ในขณะที่ผลกระทบหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับธุรกิจหากเกิดเหตุร้ายใดๆ ขึ้นมานั้นก็ถือว่าสูงไม่น้อย ดังนั้นในทุกโครงการดิจิทัลจึงควรให้ความสำคัญกับ Cybersecurity ตั้งแต่แรกอย่างครบถ้วนในทุกแง่มุม
อ้างอง
https://www.uni.net.th/index.php/news/3799/