ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย
อัพเดทล่าสุด: 16 ก.ค. 2024
724 ผู้เข้าชม
Thailand E-Commerce Landscape 2024
Delivery
ตลาดขนส่งพัสดุไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์หรือ E-commerce มากขึ้น ทำให้การแข่งขันในตลาดขนส่งด้านกลยุทธ์ดุเดือดไม่แพ้กันนั่นเพราะผลกระทบจากอัตราค่าขนส่งพัสดุที่ปรับลดลงต่อเนื่องจากการแข่งขันด้านราคาของผู้เล่นหลักในตลาด และผู้เล่นรายใหม่ในตลาดหลายรายที่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด โดยการปรับราคาค่าขนส่งลงและเร่งขยายการให้บริการให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
การแข่งขันในตลาดขนส่งพัสดุมีจำนวนผู้เล่นเดิมอย่างไปรษณีย์ไทย และผู้เล่นรายใหญ่ที่กลายมาเป็นผู้เล่นหลักในตลาดโดยมีการขยายการเติบโตอย่างรวดเร็วในปี 2020 เป็นต้นมา อย่างเช่น Kerry, Flash Express, J&T Express อีกทั้งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายอื่นๆเองต่างก็เร่งขยายบริการเช่น Shopee Express ที่เป็นของ Shopee เอง ซึ่งเราจะเห็นเทรนด์การให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจร ที่พยายามกินรวบในการให้บริการทั้งหมด ตั้งแต่การให้บริการจัดเก็บสินค้าที่คลังสินค้า Fulfillment บริการแพ็กสินค้าจนถึงบริการขนส่งไปยังผู้บริโภคและจะกลายเป็นบริการพื้นฐานที่ผู้ประกอบการขนส่งทุกรายต้องมี ในการเสนอบริการจัดส่งครบวงจรที่รวดเร็วภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม
ในปีนี้เราจะเห็นการแข่งขัน On-Demand Commerce ที่เข้มข้นขึ้น จากเดิมที่เป็นการแข่งขันการค้าลักษณะ Platform หรือแอปพลิเคชันจัดส่งอาหาร Food Delivery ก็เริ่มเปลี่ยนตัวเองให้เป็นบริการที่มากกว่าอาหาร โดยเปลี่ยนเป็นแอปพลิเคชันครบวงจร ที่สามารถใช้งานได้หลากหลายฟังก์ชันในแอปฯเดียว ยกตัวอย่างเช่น LINE ที่รู้จักในไทยจากการเป็นแอปพลิเคชันแชต ปัจจุบันได้ขยายบริการที่ครอบคลุมมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านข่าวหรือสื่อสารมวลชนอย่าง LINE Today และ LINE TV ด้านการให้บริการขนส่งอาหารและเครื่องดื่มอย่าง LINE Man เป็นต้น และมีผู้เล่นอื่นๆอีกได้แก่ Grab, Robinhood, Lalamove ซึ่งเราอาจจะได้เห็นพัฒนาการของแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันอื่นๆ ที่กำลังเตรียมยกระดับมาเป็น Super App เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นได้ ในอนาคต
บทสรุปและความท้าทายของผู้เล่นใน E-Commerce Landscape ไทยปี 2024 มีอะไรบ้าง?
สำหรับปี 2024 สมรภูมิการแข่งขันอีคอมเมิร์ซ มีแนวโน้มดุเดือดยิ่งขึ้น! แม้ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งด้านเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย แต่สำหรับ เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง
ความท้าทายของผู้เล่นไทยในตลาดอีคอมเมิร์ซ นอกจากปัจจัยเรื่องราคา และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคยุคดิจิทัลแล้ว สินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาผ่านแพลตฟอร์ม E-Marketplace ปัญหาสินค้าราคาถูกที่เข้ามาทุ่มตลาดในไทยผ่านช่องทาง E-Commerce และการเข้ามาใช้ประโยชน์จาก Free Trade Zone เพื่อขายสินค้าในประเทศ ซึ่งทำให้สินค้าราคาถูกรวมถึงสินค้าที่ไม่มีมาตรฐานทะลักเข้าตลาดในประเทศ ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ที่ไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้ ทั้งนี้ทางภาครัฐเองก็เริ่มตระหนักและหันมาทบทวนนโยบายการเรียกเก็บภาษีที่เหลื่อมล้ำเพื่อส่งเสริมและเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้เติบโตได้และไม่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าจากสินนค้าประเทศจีนและมีการแข่งอย่างเสรีและเป็นธรรม
จัดทำโดย : MAN
แหล่งที่มา : Thailand E-Commerce Landscape 2024 อัปเดตภาพรวมของภูมิทัศน์อีคอมเมิร์ซประเทศไทย 2024
บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) คือ บุคคลซึ่งขายสินค้า หรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่ การเป็นผู้ประกอบการนั้นง่ายมาก
26 ธ.ค. 2024
Entertainmerce เป็นคำที่ผสมผสานระหว่างคำว่า "Entertainment" (ความบันเทิง) และ "Commerce" (การค้า) เข้าด้วยกัน
26 ธ.ค. 2024
โมเดล Hero-Hub-Help เป็นแนวคิดในการสร้างคอนเทนต์ที่ Google พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้แบรนด์ต่างๆ สร้างสรรค์เนื้อหาที่หลากหลายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ชมได้อย่างครอบคลุม
26 ธ.ค. 2024