ลิขสิทธิ์ คืออะไร
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 ลิขสิทธิ์ หมายความว่า สิทธิแต่เพียง ผู้เดียวที่จะท าการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ท าขึ้น และ ผู้สร้างสรรค์ หมายความว่า ผู้ท าหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
กล่าวโดยสรุป ลิขสิทธิ์ คือ ความคุ้มครองที่มีให้แก่เจ้าของผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะ ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์ของตน โดยกฎหมายลิขสิทธิ์ได้ให้ความคุ้มครองถึงสิทธินักแสดงด้วย
ประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์
งานอันมีลิขสิทธิ์ มี 9 ประเภท ได้แก่
1) งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ บทความ บทกลอน โปรแกรมคอมพิวเตอร์
2) นาฏกรรม เช่น ท่าเต้นท่าร า ที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว
3) ศิลปกรรม เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย
4) ดนตรีกรรม เช่น ท านองเพลง หรือเนื้อร้องและท านองเพลง
5) โสตทัศน์วัสดุ เช่น วีซีดีคาราโอเกะ
6) ภาพยนตร์
7) สิ่งบันทึกเสียง เช่น ซีดีเพลง
8) งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น รายการโทรทัศน์
9) งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะ เช่น การเพนท์ศิลปะบนร่างกาย
สิ่งที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์
สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ได้แก่
1) ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร เว้นแต่หากมีการนำข้อมูลดังกล่าว มาเรียบเรียงจนมีลักษณะเป็นงานวรรณกรรม อาทิ การวิเคราะห์ข่าว บทความ ผลงานนั้นอาจได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานวรรณกรรม.
2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือหนังสือตอบโต้อื่นใดของหน่วยงานของรัฐ
4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 1) ถึง 4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
6) ความคิดขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน ดังนั้น เจ้าของลิขสิทธิ์จึงควรที่จะปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนโดยการเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ ที่แสดงว่าได้ทำการสร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้น เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์สิทธิหรือความเป็นเจ้าของในโอกาสต่อไป
อย่างไรก็ดีการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิใช่เป็นการรับรองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งหรือมีข้อพิพาทเกี่ยวกับเจ้าของลิขสิทธิ์จำเป็นต้องอาศัยการวินิจฉัยชี้ขาดของศาล ซึ่งต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป
ใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์
บุคคลที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
1) ผู้สร้างสรรค์ด้วยความคิดริเริ่มของตนเอง โดยไม่ลอกเลียนงานของบุคคลอื่น และอาจหมายรวมถึงผู้สร้างสรรค์งานร่วมกันด้วย
2) ผู้สร้างสรรค์ในฐานะพนักงาน หรือลูกจ้าง (เว้นแต่ทำหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น)
3) ผู้ว่าจ้างในกรณีว่าจ้างให้บุคคลอื่นสร้างสรรค์งาน (เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น)
4) ผู้ดัดแปลง รวบรวม หรือประกอบเข้ากัน โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
5) กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น โดยการจ้างหรือตามคำสั่ง หรือในความควบคุมดูแลของตน
6) ผู้รับโอนลิขสิทธิ์
การคุ้มครองลิขสิทธิ์
เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระท าการใดๆ ต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของตน ดังนี้
1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียง
4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตามข้อ 1) 2) หรือ 3) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ ที่ไม่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม
อายุการคุ้มครอง
การคุ้มครองลิขสิทธิ์จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยทั่วไปความคุ้มครองจะมีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย แต่มีงานบางประเภทที่จะมีอายุการคุ้มครองแตกต่างกัน โดยสามารถแยกสรุป ดังนี้
1) กรณีสร้างสรรค์คนเดียว ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลา 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
2) กรณีสร้างสรรค์ร่วมกันหลายคน ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลา 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย
3) กรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือ 50 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
4) กรณีที่ผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ ให้ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
5) งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น หรือ 50 ปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
6) งานที่สร้างสรรค์โดยการจ้างหรือตามค าสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ให้มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น หรือ 50 ปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
7) งานศิลปะประยุกต์ ลิขสิทธิ์มีอายุ 25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น หรือ 25 ปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
หลักเกณฑ์ในการพิจารณางานลิขสิทธิ์
1. เป็นงานที่แสดงออกถึงความคิด (expression of idea)
2. เป็นงานที่ริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง (originality)
3. การทุ่มเทกำลัง ความรู้ ความสามารถ ความตั้งใจวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ (sweat & labour and judement)
4. มีลักษณะเข้าข่ายตามประเภทของงานที่กฎหมายลิขสิทธิ์รับรอง
5. เป็นงานที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดี
เอกสารสำหรับจดลิขสิทธิ์
1. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
2. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ของเจ้าของลิขสิทธิ์ และสำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและประทับตราบริษัท (ถ้ามี) (กรณีเป็นนิติบุคคล)
3. ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด (ตามระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าด้วยการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และการให้บริการข้อมูลลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2563 ข้อ 11)
4. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
5. หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐ ใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กร พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้บริหารฯ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
6. สำเนาหนังสือจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรของรัฐ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
7. เอกสารอื่นๆ ที่แสดงถึงการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ เช่น สัญญาโอน
ระยะเวลาการดำเนินการ
หลังจากจดแจ้งลิขสิทธิ์ หรือยื่นจดแจ้งกับนายทะเบียนเพื่อพิจารณาอนุมัติ ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์
แหล่งที่มา : https://www.ipthailand.go.th/images/2562/Suppress/lesson2.pdf