1.การจัดส่งรวม
การจัดส่งสินค้าแบบ FCL (ขนส่งแบบเต็มตู้) จะดีกว่าการขนส่งแบบ LCL (ขนส่งแบบไม่เต็มตู้) เนื่องจากมีความปลอดภัยและคุ้มค่ามากกว่า และสามารถลดการวิ่งเที่ยวเปล่า
2.ประกันภัยสินค้า
กลยุทธ์การวางแผนโลจิสติกส์และการประหยัดต้นทุนนั้น จะสูญเปล่าถ้าหากไม่มีประกันสินค้าที่เหมาะสม การประกันภัยจะครอบคลุมมูลค่าสินค้าอย่างเต็มที่เพื่อป้องกันเหตุการณ์ในกระบวนการจัดส่ง
3.ใช้แพลตฟอร์มเดียว
กระบวนการดำเนินงานของซัพพลายเชน ควรรวมอยู่ในเเพลตฟอร์มเดียวที่สามารถเข้าถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่ จะสามารถประหยัดเวลา และไม่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง
4.Outsourcing
ธุรกิจมากกว่า 2 ใน 3 เลือกใช้ Outsourcing หรือผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากบริษัทอื่น เนื่องจากการดำเนินงานด้านซัพพลายเชนส่วนใหญ่ เป็นการขนส่งและการเก็บรักษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา รวมไปถึงช่วยลดต้นทุน
5.รักษาทัศนวิสัยของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
โดยการปรับปรุง วางแผน และควบคุมค่าใช้จ่ายโดยบริหารจัดการสต็อคให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของการขาดดุลผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นวิธีกำจัดความไม่แน่นอนในกระบวนการอุปสงค์/อุปทานและรักษาระดับการให้บริการที่เหมาะสม
6.ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การใช้ทรัพยากรของบริษัทอย่างจำกัดและไม่เต็มประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลโดยตรงต่อการดำเนินงาน รายได้และภาพลักษณ์ของบริษัท เพราะฉะนั้น การใช้ทรัพยากรของบริษัทอย่างเต็มที่ จะมีส่วนช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า
7.การวางแผนให้ทันเวลา
เช่น กำหนดเส้นทางการจัดส่งและเวลาขนส่ง (จากขั้นตอนการรับสินค้าจนถึงขั้นตอนการจัดส่ง) เป็นสิ่งจำเป็น เพราะการตัดสินใจในนาทีสุดท้ายที่เร่งรีบ อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าและพลาดกำหนด ซึ่งส่งผลเสียกับภาพลักษณ์ของบริษัท
BY : ICE
ที่มา : https://nextlogistics.co.th
aacb.com