แชร์

FTL กับ LTL คืออะไร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

อัพเดทล่าสุด: 27 ส.ค. 2024
167 ผู้เข้าชม
FTL กับ LTL คืออะไร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

     การเลือกรูปแบบการขนส่งสินค้าที่เหมาะสมและแม่นยำ สามารถช่วยผู้ประกอบการจัดการต้นทุน และเพิ่มผลกำไร สร้างจุดแข็งในการแข่งขันทางธุรกิจได้อย่างมาก การเลือกการขนส่งที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับปริมาณสินค้า ระยะทางขนส่ง และระดับความรวดเร็วในการขนส่งที่ต้องการ จึงเป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ผู้ประกอบการต้องขนส่งสินค้าให้ได้อย่างรวดเร็ว แต่ด้วยปริมาณและประเภทสินค้าที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละธุรกิจ ผู้ให้บริการขนส่งจึงมีรูปแบบการขนส่งที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งเต็มคัน (FTL) และการขนส่งไม่เต็มคัน (LTL) โดยแต่ละรูปแบบมีวิธีการส่ง ระยะเวลาขนส่ง ค่าใช้จ่าย รวมถึงข้อดี และข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป ผู้ประกอบการจึงควรทำความเข้าใจรูปแบบการขนส่งทั้ง 2 ประเภท เพื่อพิจารณาเลือกใช้บริการให้เหมาะสมที่สุดกับกับธุรกิจ


FTL คืออะไร

การขนส่งเต็มคันหรือเหมาคัน (FTL Full Truck Load) 

     FTL คือ บริการขนส่งสินค้าแบบเต็มคันหรือเหมาคันรถ บรรทุกและจัดส่งของของผู้ใช้บริการเจ้าเดียวเท่านั้น เป็นการขนส่งของโดยตรงจากจุดรับไปยังจุดส่ง และสามารถจัดส่งของได้ทันที สินค้าไม่มีการเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะระหว่างทางและไม่มีการแวะเข้าศูนย์กระจายสินค้าหรือคลังสินค้า การขนส่งรูปแบบนี้ตอบโจทย์การขนส่งของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่หรือธุรกิจที่มีการขนส่งสินค้าปริมาณมากต่อครั้ง โดยผู้ให้บริการส่วนมากจะให้บริการด้วยรถบรรทุก 4 ล้อ 6 ล้อ ไปจนถึงรถ 10 ล้อ และผู้ให้บริการมักคิดค่าขนส่งตามระยะทางขนส่ง จึงมีค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่าต่อการขนส่งสินค้าปริมาณมาก และสามารถจัดส่งของได้อย่างรวดเร็ว

ข้อดีของการขนส่งแบบ FTL

  • ขนส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลาแวะส่งสินค้าของลูกค้าอื่นๆ และสามารถกำหนดเส้นทางการขนส่งเพื่อการขนส่งที่แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น

  • ส่งของได้แบบ door-to-door หรือขนส่งตรงจากจุดรับไปยังจุดส่ง

  • ประหยัดและคุ้มค่าเมื่อต้องขนส่งสินค้าปริมาณมาก

  • กรณีที่ส่งของขนาดเล็กหรือกลาง เหมาะกับสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งสูง

  • ขนส่งสินค้าได้อย่างปลอดภัย เพราะเป็นการขนส่งสินค้าจากจุดรับไปยังจุดส่ง ไม่มีการแวะที่จุดพักสินค้า หรือเปลี่ยนยานพาหนะระหว่างเส้นทาง ทำให้ลดความเสี่ยงที่สินค้าจะเสียหายหรือสูญหายได้ดี

ข้อจำกัดของการขนส่งแบบ FTL

  • ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเมื่อขนส่งสินค้าปริมาณน้อย เนื่องจากผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งของเต็มคันรถแต่เพียงเจ้าเดียว ไม่มีการแบ่งค่าขนส่งกับธุรกิจรายอื่น


LTL คืออะไร

การขนส่งไม่เต็มคัน (LTL Less than Truck Load) 

     LTL คือ บริการขนส่งแบบไม่เต็มคันรถหรือส่งของแบบรายชิ้น เป็นการขนส่งสินค้าของหลายๆ เจ้าในการขนส่ง ต่อเที่ยว ทำให้มีค่าขนส่งที่ถูก ค่าใช้จ่ายมักคิดตามขนาดสินค้า และจำนวนชิ้นที่ขนส่ง เหมาะกับธุรกิจรายย่อยที่ต้องขนส่งสินค้าในปริมาณน้อย หรือต้องการขนส่งสินค้ารายชิ้นไปยังจุดส่งต่างๆ สินค้าอาจถูกรวบรวมไว้ที่ศูนย์กระจายสินค้าก่อน แล้วนำไปจัดส่งเมื่อมีจำนวนสินค้ามากพอเพื่อขนส่งไปยังจุดส่งเดียวกัน การขนส่งรูปแบบนี้สามารถช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งได้ เพราะผู้ประกอบการไม่ต้องแบกรับค่าขนส่งทั้งหมด แค่จ่ายตามปริมาณสินค้าที่ต้องจัดส่งเท่านั้น

ข้อดีของการขนส่งแบบ LTL

  • ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เพราะสามารถจ่ายตามขนาดและจำนวนสินค้าที่ต้องส่ง

  • สามารถเลือกใช้บริการที่ตรงกับปริมาณสินค้า ไม่จำเป็นต้องใช้รถเต็มคันเพื่อขนส่งสินค้าปริมาณน้อย

  • ลดปริมาณรถบรรทุกสินค้าบนท้องถนน เมื่อธุรกิจหลายรายตกลงร่วมใช้รถบรรทุกคันเดียวกันส่งสินค้า จะช่วยลดจำนวนรอบในการขนส่ง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การขนส่งรูปแบบนี้จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสูง

ข้อจำกัดของการขนส่งแบบ LTL

  • ความรวดเร็วในการขนส่งที่ช้ากว่า ไม่สามารถจัดส่งได้ทันที เพราะไม่ได้เป็นการส่งสินค้าของผู้ใช้บริการเพียงรายเดียว ต้องมีขั้นตอนพักสินค้า และส่งสินค้าของหลายๆ เจ้า ตามจุดส่งต่างๆ 

  • ลำดับและเวลาการจัดส่งที่ไม่สามารถกำหนดได้อย่างแน่นอน สินค้าจะถูกจัดเรียงร่วมกับเจ้าอื่น หากสินค้าของคุณอยู่ในรายการจัดส่งลำดับท้ายๆ ผู้รับจะต้องรอสินค้านานขึ้น 

  • จำกัดจุดรับ-ส่งของ ผู้ให้บริการหลายๆ เจ้าอาจยังไม่ให้บริการรับหรือส่งของถึงที่ ทำให้ลูกค้าต้องนำสินค้าที่ต้องการขนส่งไปส่งที่ศูนย์บริการต้นทางหรือไปรับสินค้าที่ศูนย์บริการปลายทางเช่นกัน


ควรเลือกใช้ FTL หรือ LTL ดี?

ธุรกิจแบบใดเหมาะกับการขนส่งแบบ FTL

     กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและใหญ่ที่ต้องขนส่งสินค้าปริมาณมาก หรือสามารถบรรจุสินค้าได้เต็มรถต่อรอบการขนส่ง ควรเลือกบริการขนส่งเต็มคันรถหรือเหมาคันรถ (FTL) เพราะทั้งรวดเร็วและคุ้มค่าในการส่งสินค้าปริมาณมาก โดยไม่กระทบต่อต้นทุนสินค้าคงคลัง หรือในกรณีที่ขนส่งสินค้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษระหว่างขนส่ง เช่น สินค้าที่แตกหักง่าย ก็ควรเลือกส่งของเต็มคัน เพราะสินค้าจะไม่ไปปะปนกับเจ้าอื่น ถูกจัดส่งได้ทันที และรวดเร็ว ลดความเสี่ยงการเสียหายและสูญหายของสินค้าระหว่างขนส่ง

ธุรกิจแบบใดเหมาะกับการขนส่งแบบ LTL

     กลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก ร้านค้าปลีก หรือ SMEs ที่ส่งของเป็นรายชิ้นในปริมาณไม่มากไปให้กับผู้รับที่หลากหลาย แนะนำให้เลือกการขนส่งไม่เต็มคันรถ (LTL) เพราะไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าขนส่งรถทั้งคัน แต่สามารถจ่ายตามขนาดและจำนวนสินค้าที่ต้องการขนส่ง ตัวเลือกนี้จะช่วยลดต้นทุนการขนส่ง เช่น ลดรอบการขนส่งสินค้า ลดค่าน้ำมัน ลดค่าผู้ขับ และปัจจัยค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ช่วยให้นำงบส่วนนี้ไปต่อยอดทางธุรกิจให้ขยายใหญ่ต่อไปได้

     ความแตกต่างของรูปแบบการขนส่งสินค้าทั้ง 2 ประเภท เป็นข้อมูลสำคัญเพื่อนำมาใช้พิจารณาการขนส่งที่เหมาะสมกับธุรกิจ เราควรพิจารณาเลือกรูปแบบการขนส่งอย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบคอบ จะช่วยให้ได้ตัวเลือกที่เหมาะสมกับการขนส่งของธุรกิจเรา ความคุ้มค่าที่เราเลือกจะช่วยให้ผลประกอบการเป็นไปตามที่วางไว้อย่างแน่นอน




BY : NOON (CC)

ที่มาของข้อมู, : deliveree.com ,  freightcenter.com

Tags :
บทความที่เกี่ยวข้อง
การขนส่งคืออะไร?
การขนส่ง (Transportation) หมายถึง กระบวนการเคลื่อนย้ายคน สินค้า หรือบริการ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
21 พ.ย. 2024
10 เทคโนโลยีก้าวสู่ Smart Logistics
สำหรับประเทศไทย ภาพของ Smart Logistics เองก็ถือว่าน่าจับตามองไม่น้อยเช่นกัน เพราะด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีภาคโรงงานและการผลิต, ภาคการเกษตร และการท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญ การปรับปรุงอุตสาหกรรมขนส่งและ Logistics ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั้นจะเป็นตัวเร่งสำคัญในการทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโต
20 พ.ย. 2024
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจ
ในปัจจุบันธุรกิจออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว การขนส่งสินค้าเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อประสบการณ์ของลูกค้าและความสำเร็จของธุรกิจ
20 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ