แชร์

TEMU แอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซจากจีนน้องใหม่มาแรง

อัพเดทล่าสุด: 9 ก.ย. 2024
123 ผู้เข้าชม
TEMU  แอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซจากจีนน้องใหม่มาแรง

"TEMU" แอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซจากจีนน้องใหม่มาแรง

Temu คือใคร?

    Temu เป็นแพลตฟอร์ม e-Commerce ของ PDD Holdings Inc. บริษัทจากจีน เจ้าของเดียวกันกับแพลตฟอร์มชื่อดังในจีน อย่าง Pinduoduo โดย Temu เปิดตัวมาเมื่อปี 2022 

    Temu จะมีสโลแกนว่า Shop Like a Billionaire สื่อถึงสินค้าที่มีราคาถูกมาก จนใครๆ ก็สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องกังวลถึงเรื่องราคาสินค้า อีกทั้ง Temu ยังตัดเรื่องพ่อค้าคนกลางออกไป ทำให้ส่งมอบสินค้าราคาถูกถึงลูกค้าได้นั่นเอง

    และระยะเวลาไม่นานหลังจาก Temu เปิดตัวแอปฯ ก็มีผู้ใช้งานชาวอเมริกันเพิ่มขึ้นกว่า 100 ล้านราย ในขณะที่คู่แข่งอย่าง Shein มีผู้ใช้งานในสหรัฐฯ อยู่ที่ 13.7 ล้านคน

    ปัจจุบัน Temu เปิดให้ใช้งานไปแล้วใน 18 ประเทศทั่วโลก อย่างเช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เวียดนาม โดยตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่สุดของ Temu มีสัดส่วนอยู่ที่ 42.1% ตามมาด้วยตลาดในยุโรป และตลาดอื่น ๆ และประเทศไทยคือที่ล่าสุดที่ Temu เข้ามาตีตลาด อย่างไรก็ตาม ในไทยยังมีเจ้าใหญ่ e-Commerce ทั้ง Shopee และ Lazada ที่ยังคงแข็งแรงในภูมิภาคนี้

    โดย Temu ได้เร่งพัฒนาด้านระบบโลจิสติกส์และโกดังจัดเก็บสินค้า เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ อีกทั้งยังสามารถเก็บสินค้าขนาดใหญ่อย่าง เช่น โซฟา หรือของใช้ในบ้านอื่นๆ ได้อีกด้วย เตรียมพร้อมส่งสินค้าทุกชิ้นถึงมือลูกค้าด้วยความรวดเร็ว

    จากข้อมูลของ MobiLoud พบว่า ยอดขายสินค้าออนไลน์ของ Temu ในเดือนกันยายน 2022 อยู่ที่ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และต่อมาไม่กี่เดือนในช่วงมกราคม 2023 ทาง Temu มียอดขายอยู่ที่ 192 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทำไม Temu ถึงเป็นน้องใหม่ไฟแรงในวงการ e-Commerce?

    ด้วยจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและด้วยสินค้าที่มีราคาถูกของ Temu ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดในหมู่ผู้ให้บริการของสหรัฐอเมริกา อย่าง Amazon, eBay และ Etsy แพลตฟอร์ม e-Commerce เจ้าใหญ่ที่หลังจาก Temu และ Shein ส่งสินค้าราคาถูกจากจีนเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ทำให้เจ้าเดิมในตลาดต้องเสียส่วนแบ่งในตลาดไป

    ด้วยระบบโลจิสติกส์ที่พร้อม และต้นทุนในการผลิตที่ถูก ทำให้ Temu สามารถขยายตลาดมาสู่ประเทศไทย และสามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าคนไทย ในราคาที่ถูกลง ยิ่งซื้อเยอะยิ่งมีส่วนลด อีกทั้งยังมีโปรโมชัน ที่สินค้าบางรายการลดมากถึง 90% 

    เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม Momentum Works บริษัทให้คำปรึกษาทางธุรกิจในสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ทีมู่ (Temu) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเครือ Pinduoduo ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซสัญชาติจีน คู่แข่งสำคัญของ JD.com และอาลีบาบา (Alibaba) เปิดให้บริการในไทยอย่างเงียบๆ เป็นประเทศที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากปี 2566 ทีมู่ เข้าไปบุกตลาด ฟิลิปปินส์ และ มาเลเซีย มาก่อน

    สิ่งที่น่าสังเกตจากการบุกตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Temu คือทั้ง 3 ประเทศที่เปิดให้บริการไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ไทย ฟิลิปปินส์ และ มาเลเซีย ไม่มีผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซในท้องถิ่นครองส่วนแบ่งอยู่เลย ทำให้ทิศทางการขยายพื้นที่การให้บริการของ Temu ในภูมิภาคนี้ยิ่งน่าจับตามากขึ้น

Colin Huang Zheng เจ้าของ Temu

    หากย้อนกลับไปปี 2565 Temu ประสบความสำเร็จในการบุกตลาดสหรัฐเป็นอย่างมาก หลังจากเปิดตัวได้ไม่กี่สัปดาห์ ยอดดาวน์โหลดของ Temu สามารถแซงหน้าแอพพลิเคชั่นในหมวดหมู่เดียวกัน เช่น แอมะซอน (Amazon), วอลมาร์ท (Walmart) และ ชีอิน (Shein) เป็นต้นนอกจากชูจุดเด่นว่าจำหน่ายสินค้าราคาถูก และมอบโค้ดส่วนลดเป็นจำนวนมากแล้ว ยังยอมทุ่มงบการตลาดมหาศาลเพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้างอย่างรวดเร็ว

    CNBC รายงานว่า ปี 2566 Temu ใช้เงินไปกับการเผยแพร่โฆษณาระหว่างการแข่งขัน Super Bowl ราว 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ยอดดาวน์โหลดแอพพ์ในสหรัฐเพิ่มขึ้น 45% และจำนวนผู้ใช้งานต่อวันเพิ่มขึ้น 20%

    อย่างไรก็ตาม Temu กลับได้รับรีวิวที่ไม่ค่อยดีนัก อย่างเช่น สินค้าคุณภาพแย่ สินค้าปลอม กดขี่แรงงาน ขโมยข้อมูลลูกค้า และละเมิดลิขสิทธิ์เป็นต้น อีกทั้ง Temu ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ปัจจุบันยังไม่สามารถทำกำไรได้จากการขายสินค้าออนไลน์ จากข้อมูล WIRED พบว่า Temu ขาดทุนเฉลี่ยประมาณ 30 ดอลลาร์ต่อออเดอร์ และอาจจะขาดทุนมากถึง 588-954 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    โดยลูกค้าชาวไทย สามารถโหลดแอปพลิเคชัน Temu ได้แล้ววันนี้ ผ่าน Google Play Store และ Apple Store

 





ขอบคุณข้อมูล: Thairath,TemuCNBCMobiLoudForbes, WSJ,WIRED,

BY: Bank

บทความที่เกี่ยวข้อง
Freightos คืออะไร
Freightos คือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มุ่งเน้นในการปรับปรุงกระบวนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
21 ต.ค. 2024
Sales Gatekeepers ตำแหน่งที่เซลส์ทุกคนจำเป็นต้องรู้!
Sales Gatekeepers จะต้องทำงานร่วมกันกับตำแหน่งอื่นๆในองค์กร ที่จะคอยช่วยกันวิเคราะห์งานเสนอขาย หลังจากนั้นจะส่งต่อไปยังบุคคลตำแหน่งต่างๆที่สูงกว่า
21 ต.ค. 2024
แอปที่สำคัญที่เกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาด
แอปที่สำคัญที่เกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาด
21 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ