แชร์

Cross-Docking เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งสินค้า

อัพเดทล่าสุด: 4 ต.ค. 2024
35 ผู้เข้าชม
Cross-Docking  เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งสินค้า

Cross-Docking คืออะไร?

  Cross Docking เป็นหนึ่งในกระบวนการทางด้านโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้าจากผู้ผลิตมายังคลังสินค้า เพื่อนำไปคัดแยก บรรจุหีบห่อ และส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าต่อไป ไม่ต้องเช่าคลังสินค้าแยกให้สิ้นเปลือง พื้นที่ใช้สอยเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศูนย์กระจายสินค้า นั้นเอง ตามหลักการแล้ว สินค้าจะอยู่ในคลังสินค้าไม่เกิน 24 ชั่วโมง เมื่อสินค้าถูกส่งเข้ามาในศูนย์กระจายสินค้า พนักงานจะทำการคัดแยกตามคำสั่งซื้อของลูกค้า จากนั้นเคลื่อนย้านสินค้าขึ้นรถบรรทุก และจัดส่งไปยังลูกปลายทาง

สินค้าที่เหมาะกับ Cross Docking

สินค้าที่ต้นทุนในการเก็บรักษาสูง  เมื่อไม่ต้องเก็บสินค้าเอาไว้ ก็จะทำให้ไม่มีต้นทุนจากการเก็บรักษาหรือความเสี่ยงจากความเสี่ยหายของสินค้าที่เก็บไว้

สินค้าที่กำลังได้รับความนิยม หรือ มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง เป็นสินค้าที่ต้องขายอยู่ตลอดอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องเก็บสินค้าคงคลัง (ผลิตเสร็จก็ขายได้เลย)

สินค้าที่ขนถ่ายง่าย เพราะอย่างที่บอกว่าสินค้าจะอยู่ใน Cross Docking เพื่อการจัดเรียงและการถ่ายสินค้าในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 24 ชั่วโมง การที่ใช้เวลาเคลื่อนย้ายน้อยและง่ายจึงสะดวกกับการ Cross Docking มากกว่า

สินค้าที่หมดอายุเร็ว ทำให้ต้องรีบขนส่งสินค้าออกไปก่อนที่สินค้าจะหมดอายุ

Cross-Docking/ Pre-Distribution / Post-Distribution คืออะไร?

การเปลี่ยนถ่ายสินค้า แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่

Pre-Distribution : อธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือ ตรวจสอบการแพ็คและติดฉลากที่ระบุชื่อลูกค้าปลายทางให้เรียบร้อย

Post-Distribution: เป็นการกระจายสินค้าและการจัดส่งไปยังลูกค้าปลายทาง 

ข้อดีของ Cross-Docking

สมมติว่าผู้ค้าส่งสินค้ามาเก็บที่คลังสินค้าออนไลน์ เมื่อมีออเดอร์เข้ามาและสินค้ากำลังจะถูกจัดส่งไปยังศูนย์กระจายสินค้าที่ใกล้กับลูกค้าปลายทางมากที่สุดก่อนเบื้องต้น เพื่อจะได้จัดส่งไปถึงมือพวกเขาได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง ประหยัดเวลา ย่นระยะทางในการจัดส่งนอกจากนี้ศูนย์กระจายสินค้าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า

ระบบเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross-Docking) 

  • ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ : ถึงแม้ว่าจะต้องเว้นพื้นที่ในคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้าจะช่วยจัดการพื้นที่ในคลัง ให้คุณสต็กสินค้าได้มากขึ้น การประหยัดพื้นที่เก็บสินค้านั้นถือว่าเป็นอะไรที่คุ้มค่าเลยทีเดียว เพราะมันช่วยให้คุณจัดเรียงสินค้าในพื้นที่ตามที่คุณต้องการได้
  • ลดความเสี่ยง ลดขั้นตอนการดำเนินงานได้: ตัดขั้นต่อที่ไม่จำเป็นได้หลายขั้น การคัดแยกสินค้าและจัดเก็บอาจจะไม่จำเป็นอีกต่อไป ความเสี่ยงที่สินค้าจะพังหรือเกิดอุบัติเหตุในขณะดำเนินงานจะลดน้อยลง แต่สิ่งที่จะตามมาคือประสิทธิภาพในการทำงานจะดียิ่งขึ้น
  • ช่วยลดเวลาในการจัดส่งและเพิ่มความคล่องตัวในระบบซัพพลายเชน : ศูนย์กระจายสินค้าจะช่วยประหยัดเวลาในการจัดส่งสินค้าได้
  • ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในซัพพลายเชน : ช่วยประหยัดพลังงานในการเคลื่อนย้ายสินค้าทำให้การดำเนินงานด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ของคุณมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
  • ปรับปรุงเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า : ช่วยลดขั้นตอนบางอย่างไป ทำให้คุณส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในฐานะที่เราเป็นผู้นำในการขนส่ง เวลาที่เร็ว และสินค้าที่เสร็จตรงเวลา จะทำให้ลูกค้าของคุณประทับใจ
  • ลดต้นทุนด้านแรงงาน : การจัดการคลังสินค้าด้วยตนเองนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่ใช่น้อย ไหนจะต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากเพื่อขนย้ายสินค้าจากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังคลังสินค้า ไหนจะต้องหาพื้นที่ที่กว้างพอเพื่อจัดเก็บ การมีศูนย์กระจายสินค้ามีจะช่วยลดแบ่งเบาภาระเรื่องพื้นที่สต๊อกสินค้าไม่เพียงพอ

ประโยชน์ของ Cross Docking

ลดจำนวนสินค้าคงคลังและต้นทุนที่เกิดจากสินค้าคงคลัง จากการที่ไม่ต้องเก็บรักษาสินค้าคงคลัง
ลดปัญหาสินค้าค้างสต๊อก เพราะสินค้าทั้งหมดรับเข้ามาและส่งออกไปทันทีไม่ได้เก็บรักษาเอาไว้

ลดค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลัง  เช่น การยกเก็บเข้าคลังและยกออกจากที่เก็บเมื่อต้องจัดส่งสินค้า

ไม่ต้องใช้คลังสินค้าขนาดใหญ่ เพื่อเก็บรักษาสินค้าเอาไว้

ความเสี่ยงของ Cross Docking

ความเปราะบางของห่วงโซ่อุปทานจากการหยุดชะงัก ดังนั้นการใช้ Cross Docking จึงจำเป็นต้องมีรถขนส่งที่เพียงพอต่อการใช้งาน

มีพื้นที่จัดเก็บสินค้าน้อยกว่า เพราะการใช้ Cross Docking จะจัดเรียงและส่งสินค้าออกไปทันที โดยไม่ใช้คลังสินค้าหรือใช้คลังสินค้าน้อยมาก

ความเสี่ยงจากสินค้าที่เสียหายจากการขนส่ง การคัดแยกและจัดส่งสินค้าอีกครั้งอาจทำให้ผลิตภัณฑ์เสียหายได้

 

 

 

BY : NUN

ที่มา : golocad.com/th/warehousing/cross-docking/

บทความที่เกี่ยวข้อง
แนวโน้มโลจิสิตกส์และธุรกิจขนส่งปี 2025
แนวโน้มของโลจิสติกส์และธุรกิจขนส่งในปี 2025 จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ เนื่องจากปัจจัยหลายประการ
22 ต.ค. 2024
จัดการสต๊อกให้ดีขึ้นโดยการทลายการทำงานแบบ silo
การทำงานแบบ silo หรือต่างคนต่างทำงานของตนเอง ไม่มีความร่วมมือกันเป็นหนึ่งเดียว จะทำให้ผลที่ตามมานั้นไม่ใช่แค่ performance ของซัพพลายเชนและองค์กรเสียเชื่อเสียง
22 ต.ค. 2024
SAP Integrated Business Planning (IBP) คืออะไรกันเเน่ ?
SAP Integrated Business Planning (IBP) เป็นระบบซอฟต์แวร์ของ SAP ที่เน้นการบริหารจัดการกระบวนการต่าง ๆ
22 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ