Brand Awareness คืออะไร พร้อมเคล็ดลับสร้างการรับรู้แบรนด์
Brand Awareness คืออะไร พร้อมเคล็ดลับสร้างการรับรู้แบรนด์
Brand Awareness คืออะไร
Brand Awareness คือ ความตระหนักรู้เกี่ยวกับแบรนด์ในหมู่ผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของการสร้างแบรนด์ แสดงถึงความสามารถของผู้คนในการจดจำ และระลึกถึงแบรนด์ในด้านต่าง ๆ เช่น โลโก้ ผลิตภัณฑ์ หรือโฆษณา ทั้งนี้ การมี Brand Awareness ที่สูงหมายความว่า ลูกค้าจะนึกถึงแบรนด์ของคุณก่อนเป็นอันดับแรก ๆ เมื่อพวกเขาพิจารณาซื้อสินค้าหรือบริการในหมวดหมู่นั้น
Brand Awareness มีกี่ระดับ
Unaware of Brand
ระดับที่ผู้บริโภคไม่รู้จักสินค้าและบริการของคุณ และไม่เคยได้ยินชื่อแบรนด์ของคุณมาก่อน แน่นอนว่าหากจะเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายกลุ่มนี้ คุณควรศึกษาข้อมูลของพวกเขาให้ดี รวมถึงศึกษาแบรนด์ที่มักจะครองใจพวกเขาด้วย
Brand Recognition
ในระดับนี้ คือระดับที่ผู้บริโภคเริ่มจดจำโลโก้แบรนด์ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของโลโก้แบรนด์ได้ อาจเกิดจากการเคยเห็นโฆษณา หรือเคยเห็นโพสต์ของแบรนด์บนหน้าฟีด อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคในระดับนี้จะยังไม่ทราบว่า สินค้าและบริการของคุณมีจุดเด่นอะไร หรือต่างกับแบรนด์อื่น ๆ อย่างไร
Brand Recall
ในระดับนี้ ผู้บริโภคจะสามารถระลึกถึงโลโก้แบรนด์ได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องมีตัวช่วยใด ๆ อาจเกิดจากการเห็นโฆษณาของแบรนด์บ่อยครั้ง หรือจัดชื่อแบรนด์อยู่ในกลุ่มของสินค้าที่ตัวเองคุ้นเคย ดังนั้น การเข้าหาลูกค้ากลุ่มนี้จึงมีโอกาสประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก
Top of Mind
ถือเป็นระดับสูงสุดของการสร้าง Brand Awareness เพราะไม่เพียงลูกค้าจะจดจำทั้งชื่อและโลโก้ของแบรนด์ได้ แต่ยังคิดถึงแบรนด์ของคุณเป็นอันดับแรกเสมอ เมื่อนึกถึงสินค้าและบริการประเภทเดียวกัน
Brand Awareness สำคัญต่อการสร้างแบรนด์อย่างไร
Brand Awareness มีความสำคัญต่อการสร้างแบรนด์ในหลาย ๆ ด้าน เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนดความสำเร็จของแบรนด์ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง โดยเราสามารถสรุปความสำคัญของ Brand Awareness ที่มีต่อการสร้างแบรนด์ได้ดังนี้
- เพิ่มการรับรู้และความไว้วางใจ: เมื่อลูกค้ารับรู้และคุ้นเคยกับแบรนด์ของคุณ พวกเขามีแนวโน้มที่จะเชื่อถือและรู้สึกดีต่อแบรนด์นั้นมากขึ้น
- สร้างความเป็นผู้นำในตลาด: แบรนด์ที่มีระดับการรับรู้สูงมักจะถูกมองว่าเป็นผู้นำในหมวดหมู่นั้น ซึ่งความเป็นผู้นำนี้ช่วยให้แบรนด์มีอำนาจต่อรองที่ดีกว่าในการจัดการกับผู้จำหน่ายและช่องทางจำหน่าย
- รับรองความเชื่อมั่นในการซื้อ: ผู้บริโภคมักจะซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่พวกเขารู้จักและรู้สึกสบายใจ ซึ่งการมี Brand Awareness ที่แข็งแกร่งจึงช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อและสามารถเพิ่มยอดขายได้
- ลดต้นทุนการได้มาของลูกค้า : แบรนด์ที่มีการรับรู้สูงไม่ต้องใช้เงินมากมายในการดึงดูดลูกค้าใหม่ เนื่องจากชื่อเสียงและการรับรู้ที่มีอยู่แล้วช่วยลดความจำเป็นในการโฆษณาอย่างหนัก
- ช่วยในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่: เมื่อแบรนด์มี Brand Awareness มากพอ การเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่จะง่ายขึ้น เนื่องจากลูกค้ามีความเต็มใจที่จะทดลองหรือยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่จากแบรนด์ที่พวกเขาไว้วางใจ
เทคนิคการสร้างBrand Awareness ให้ได้ผลสำหรับแบรนด์ที่เพิ่งเปิดตัว!!
1. ฝึกวาง Brand Positioning
Brand Positioning คือการกำหนดตำแหน่งของแบรนด์ในตลาด โดยเทียบกับคู่แข่งที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกัน การฝึกวางตำแหน่งแบรนด์เช่นนี้จะทำให้คุณเห็นภาพชัดขึ้นว่า สำหรับผู้บริโภคแล้วแบรนด์ของคุณอยู่ตรงไหน และผู้บริโภคมีแนวโน้มจะเลือกคุณหรือคู่แข่งมากกว่า เมื่อพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ราคา โลเคชัน หรือคุณภาพสินค้า
2. นำเสนอความเป็นแบรนด์ให้ชัดเจน ผ่านงาน Copywriting
แนะนำให้คิดคำ สโลแกน หรือ Copywriting ที่ทรงพลัง และบ่งบอกความเป็นแบรนด์อย่างชัดเจน ทั้งจุดเด่น ประโยชน์ อัตลักษณ์ เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นแล้วสามารถจดจำได้ทันที
3. ใช้ฟอนต์ สี โลโก้ และถ้อยคำที่สอดคล้องกัน
การออกแบบตราสินค้ามีพลังในการสร้าง Brand Awareness ค่อนข้างมาก เพราะเป็นสิ่งแรก ๆ เกี่ยวกับแบรนด์ที่ผู้บริโภคจะสามารถจำได้ ดังนั้น แนะนำให้ใช้สีสันที่สะดุดตา ประกอบกับงานอาร์ต และตัวฟอนต์ ที่ไปด้วยกันได้กับสีประจำแบรนด์
4. ทำให้ตราสินค้าไปปรากฏอยู่ในหลาย ๆ ช่องทาง
ในช่วงที่คุณกำลังสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก แนะนำให้พยายามเผยแพร่ตราสินค้าให้กระจายตามช่องทางต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น Social Media ทุก ๆ แพลตฟอร์ม การใช้ Influencer หรือการโฆษณาแบบ Out Of Home เพื่อให้คนจดจำชื่อแบรนด์และโลโก้ได้ก่อน
ขอบคุณข้อมูล: https://thedigitaltips.com/blog/marketing/what-is-brand-awareness/
By: Bank