แชร์

OEE คืออะไร? คำนวณอย่างไร ทำไมจึงสำคัญกับอุตสาหกรรม

อัพเดทล่าสุด: 27 พ.ย. 2024
283 ผู้เข้าชม
OEE คืออะไร ทำไมถึงต้องรู้จัก
  Overall Equipment Effectiveness (OEE): ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร คือวิธีการคำนวณความสามารถในการทำงานทั้งหมดของเครื่องจักรภายในโรงงาน โดยอ้างอิงจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและสรุปออกมาเป็นตัวเลข

โดยการคำนวณ OEE จะมีส่วนประกอบหลัก 3 อย่าง คือ

-อัตราการเดินเครื่องจักร (Availability)
-ประสิทธิภาพของเครื่องจักร (Performance Efficiency)
-อัตราคุณภาพ (Quality Rate)

  ซึ่งส่วนประกอบ 3 อย่างนี้ก็จะมีปัจจัยแยกย่อยลงไป เพื่อให้การคำนวณนั้นตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นภายในโรงงานมากที่สุด

อัตราการเดินเครื่อง (Availability) = 90%
ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง (Performance Rate) = 95%
อัตราคุณภาพ (Quality Rate) = 99%

   ดังนั้น ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ (OEE) = 0.90 x 0.95x 0.99 x 100 = 85%
ซึ่งค่านี้ไม่ใช่เกณฑ์ที่บังคับใช้ สามารถกำหนดเป้าหมายให้เหมาะสมกับโรงงานได้ แต่บริษัทที่ได้รับรางวัล PM ส่วนใหญ่ ล้วนมีค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ (OEE) สูงกว่า 85% ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามการปรับปรุงค่า OEE ควรจะมีทีมเฉพาะกิจขึ้นมาคิดคำนวณ และตั้งเป้าหมาย รวมถึงการวางกลยุทธ์ ทั้งนี้เพื่อการปรับปรุงไปในทางเดียวกันทั้งโรงงาน

การคำนวณ OEE
    สำหรับการคำนวณ OEE ทางผู้ประกอบการจำเป็นต้องแยก Factor ย่อยๆ ของ OEE ออกมาก่อน แล้วจึงนำไปเข้าสูตรการคำนวณ OEE โดยมีรายละเอียดดังนี้

OEE = อัตราเดินเครื่องจักร x ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง x อัตราคุณภาพ

อัตราการเดินเครื่องจักร (Availability)

อัตราการเดินเครื่องจักร = เวลาเดินเครื่องจักร/เวลารับภาระงาน

เวลาเดินเครื่องจักร = เวลารับภาระงาน เวลาในการหยุดเดินเครื่องจักร

เวลารับภาระงาน = เวลาทำงานทั้งหมด-เวลาหยุดตามแผนงาน

ตัวอย่างการหาอัตราเดินเครื่องจักร
   เครื่องจักรในโรงงานตัวหนึ่งมีเวลาทำงานทั้งหมด 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีการหยุดตามแผนงานสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง มีเวลาสูญเสียจากการที่เครื่องจักรหยุด 2 ชั่วโมง ใน 1 สัปดาห์อัตราการเดินเครื่องจักรจะเป็นเท่าใด
แทนค่าตัวแปร
เวลารับภาระงาน = เวลาทำงานทั้งหมด เวลาหยุดตามแผนงาน
= 36-4
= 32 ชั่วโมง

เวลาเดินเครื่องจักร = เวลารับภาระงาน เวลาในการหยุดเดินเครื่องจักร
= 32-2
= 30

อัตราการเดินเครื่องจักร = เวลาเดินเครื่องจักร/เวลารับภาระงาน
= 30/32
= 93.75%

ประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักร (Performance Efficiency)
   การคำนวณประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักรสามารถคำนวณได้ 2 แบบ โดยอ้างอิงจากเวลาในการใช้ตัวแปรด้านเวลาเพื่อคำนวณ หรือการคำนวณจากการผลิตชิ้นงาน โดยจะมีรายละเอียดดังนี้
การคำนวณประสิทธิภาพโดยคิดจากเวลา
ประสิทธิภาพในการเดินเครื่องจักร = (เวลาเดินเครื่องทั้งหมด เวลาในการหยุดเดินเครื่องจักร)/เวลาเดินเครื่องทั้งหมด
การคำนวณประสิทธิภาพโดยคิดจากการผลิตชิ้นงาน
ประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักร = จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้/จำนวนชิ้นงานที่ควรผลิตได้ตามมาตรฐาน

ตัวอย่างการหาประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักร
   เวลาทำงานของเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง มีการใช้เวลาทำงานจริงทั้งหมด 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งในช่วงเวลาการทำงานนั้นมีการหยุดทำงานเครื่องจักรไป 10 ชั่วโมง ประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักรนี้คิดเป็นเท่าใด
แทนค่าตัวแปร
ประสิทธิภาพในการเดินเครื่องจักร = (เวลาเดินเครื่องทั้งหมด เวลาในการหยุดเดินเครื่องจักร)/เวลาเดินเครื่องทั้งหมด
= (48-10)/48
= 79%

อัตราคุณภาพ (Quality Rate)
   การคำนวณอัตราคุณภาพ เป็นอีกตัวแปรที่สามารถผ่านการคำนวณได้ 2 รูปแบบ รูปแบบแรกคือการหาอัตราคุณภาพผ่านตัวแปรด้านเวลา ส่วนอีกรูปแบบคือการหาอัตราคุณภาพผ่านชิ้นงานที่ผลิตได้ โดยมีการคำนวณดังนี้
การหาอัตราคุณภาพโดยคิดจากเวลา
เวลาเดินเครื่องที่เกิดมูลค่า = เวลาเดินเครื่องสุทธิ เวลาที่เสียไปจากการผลิตของเสีย
อัตราคุณภาพ = เวลาเดินเครื่องที่เกิดมูลค่า/เวลาเดินเครื่องสุทธิ
การหาอัตราคุณภาพโดยคิดจากสิ่งที่ผลิต
อัตราคุณภาพ = (จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้-จำนวนชิ้นงานเสีย)/จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้

ตัวอย่างการหาอัตราคุณภาพ
   เครื่องจักรเครื่องหนึ่ง สามารถผลิตผลงานได้ 500 ชิ้นต่อวัน โดยมีงานที่เสียจำนวน 50 ชิ้น อัตราคุณภาพของเครื่องจักรนี้จะเป็นเท่าใด
แทนค่าตัวแปร
อัตราคุณภาพ = (จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้-จำนวนชิ้นงานเสีย)/จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้
= (500-50)/500
= 90%

การคิด OEE
   สมมติโจทย์ โดยคิดจากการทำงานของเครื่องจักรในตัวอย่าง อัตราเดินเครื่องจักร ประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักร และอัตราคุณภาพของเครื่องจักร

OEE = อัตราเดินเครื่องจักร x ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง x อัตราคุณภาพ

= 93.75% * 79% *90%

= 66%

สรุปบทความ
   OEE ถือเป็นอีกหนึ่งการคำนวณสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย และภายในการคำนวณนั้นยังสามารถแบ่งส่วนประกอบย่อยๆ ออกมา เพื่อตรวจสอบการทำงานได้อีกด้วย ซึ่งการใช้ OEE ให้ดีที่สุดนั้น ต้องมีการเก็บข้อมูลที่ครบถ้วน และการคำนวณที่ถูกต้อง















BY : Jim


บทความที่เกี่ยวข้อง
AGV (Automated Guided Vehicles) และ AMR (Autonomous Mobile Robots) คืออะไร?
ในโลกของอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ การใช้ระบบอัตโนมัติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างมาก AGV (Automated Guided Vehicles) และ AMR (Autonomous Mobile Robots) เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขนส่งภายในโรงงานและคลังสินค้า แต่ทั้งสองระบบมีความแตกต่างกันอย่างไร? มาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
1 เม.ย. 2025
รับมือกับช่วง High Season: บริหารเฟรนไชส์ขนส่งอย่างไรให้ราบรื่น
ช่วง High Season เป็นช่วงเวลาที่ธุรกิจขนส่งต้องเผชิญกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ หรือช่วงลดราคาครั้งใหญ่ ธุรกิจแฟรนไชส์ขนส่งจำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้าเพื่อให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างราบรื่น
ร่วมมือ.jpg Contact Center
1 เม.ย. 2025
Irregular Demand เมื่อความต้องการไม่เป็นไปตามคาดการณ์
ในโลกธุรกิจที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง แต่บางครั้งความต้องการก็ไม่ได้เป็นไปตามที่เราคาดการณ์ไว้ ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่า "Irregular Demand" หรือ "ความต้องการที่ไม่ปกติ"
ออกแบบโลโก้__5_.png BANKKUNG
29 มี.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ