แชร์

Customer Success คืออะไร? กลยุทธ์หัวใจสำคัญของธุรกิจ

อัพเดทล่าสุด: 17 ต.ค. 2024
23 ผู้เข้าชม
Customer Success คืออะไร? กลยุทธ์หัวใจสำคัญของธุรกิจ
Customer Success คืออะไร?

          Customer Success คือ  หลักการธุรกิจเพื่อรักษาลูกค้าให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเราไปได้นานๆ ด้วยการช่วยให้ลูกค้ามีความสุขกับผลิตภัณฑ์เรามากที่สุด ทำงานร่วมกับทีมอื่นในการวางแผนล่วงหน้าเพื่อความสะดวกของลูกค้า

ทำไมธุรกิจถึงต้องมี Customer Success

เมื่อนำหลักการเรื่อง Customer Success มาปรับใช้แล้ว จะสามารถช่วยธุรกิจของคุณได้ ดังนี้
  • ขับเคลื่อนยอดขายให้สูงขึ้นได้
  • ลดอัตราการเปลี่ยนใจของลูกค้าได้
  • เพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่ง

Customer Success กับ Customer Service ต่างกันอย่างไร?

          Customer Service จะใช้หลักการทำงานแบบผลิตไปก่อน แล้วคอยแก้ปัญหาทีหลัง เช่น พอลูกค้ามาคอมเมนต์ติติงที ก็ค่อยปรับปรุงที ผู้ที่ดูแลลูกค้าหรือทำงานในตำแหน่งนี้มักจะเรียกกันว่า Customer Support Person หรือ  Customer Service Representative ซึ่งก็คือผู้ที่ทำงานดูแลแก้ไขปัญหาให้ลูกค้านั่นเอง

          Customer Success (CS) มีวิธีการทำงานคนละรูปแบบ โดยจะต้องคิดนำไปก่อนลูกค้าก่อนเสมอเพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ของเราออกมาสมบูรณ์หรือช่วยตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าให้มากที่สุด และคำนึงถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นก่อนที่ลูกค้าจะแจ้งเข้ามา

วิธีการนำ Customer Success มาใช้กับองค์กร

          เราเชื่อว่าทุกๆ บริษัทต่างก็อยากได้ยอดขายที่สูงๆ กันทั้งนั้น และเมื่อการหาลูกค้ารายใหม่ไปเรื่อยๆ อาจไม่ได้ผลในในระยะยาว ธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องดูแลลูกค้าของเราให้อยู่ใช้สินค้าหรือบริการของเราไปได้นานๆ เมื่อเราส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ลูกค้าที่รักในผลิตภัณฑ์ของเราก็จะสนับสนุนกันต่อไปเรื่อยๆ หากเราสร้างลูกค้ากลุ่มแฟนตัวยงนี้ได้หลายๆ คนเข้าก็เท่ากับว่าเรามีรายได้เข้ากระเป๋าอย่างสม่ำเสมอไปด้วยนั่นเอง

          ระบบ CRM จึงเป็นเครื่องมือที่จำเป็นของการทำธุรกิจในการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าของเรา โดยเจ้าระบบนี้จะช่วยเก็บข้อมูลของลูกค้า ตลอดจนพฤติกรรมการซื้อขาย ทำให้เราดูแลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นหลักการของ Customer Succes จึงควรนำมาปรับใช้คู่กับเครื่องมือ CRM Tools เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

การนำหลัก Customer Success มาใช้กับงานขาย
  • วางแผนดูแลลูกค้าก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น เพื่อลดอัตราการเปลี่ยนใจของลูกค้า
  • มองเห็นรูปแบบการขายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการ Upsell หรือ Cross-Sell
  • ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้ซ้ำใหม่เรื่อยๆ เป็นแหล่งรายสร้างรายได้สำคัญของบริษัท
  • ทำให้ลูกค้าพอใจในการส่งมอบคุณค่าของเรา ผลิตภัณฑ์ได้รับการบอกต่อจากผู้ใช้งานจริง

การนำหลัก Customer Success มาใช้กับ Marketing

  • Ideal Customer Profile การดูแลลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเรา
  • Buyer Journey การสังเกตพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า
  • Customer Experience การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้าได้ลองใช้บริการหรือสินค้าของเราแล้วเกิดประทับใจจนซื้อต่อไปเรื่อยๆ
  • Product Advocacy คำนึงถึงสปอนเซอร์ที่จะมาสนับสนุนแบรนด์ของเรา

การวัด Metrics และ KPI

  • Churn Rate อัตราการเลิกซื้อของลูกค้าจากจำนวนลูกค้าที่มีทั้งหมด
  • Churn Rate Reduction/Expansion เปรียบเทียบการเลิกซื้อของลูกค้าแต่ละเดือนว่ามีแนวโน้มมากขึ้นหรือลดลง
  • Monthly Recurring Revenue (MRR) Churn ยอดขายตกหล่นลงหรือไม่ในแต่ละเดือน
  • Revenue Expansion ยอดขายเพิ่มขึ้นบ้างหรือไม่ในแต่ละเดือน
  • Portfolio Growth จำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นหรือมีลูกค้ากี่รายที่มีการอัพเกรดการบริการของเรา
  • Customer Satisfaction Score (CSAT) คะแนนความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อเรา
  • Customer Onboarding Cost ค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกค้า
  •  Net Promoter Score (NPS) ดัชนีชี้วัดความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ของเรา (แนะนำสินค้าต่อ)
  • Referrals การแนะนำบอกต่อของลูกค้า
  • Customer Health Score คะแนนสุขภาพการใช้งานของลูกค้า (แนวโน้มการใช้งานต่อกับผลิตภัณฑ์ของเรา)
สรุป

          Customer Success ไม่ได้เป็นเพียงแค่ตำแหน่งงาน แต่ยังเป็นหลักการและแนวคิดที่จะช่วยธุรกิจในการส่งมอบประสบการณ์หรือคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าอยู่กับเราในระยะยาว โดยมีเครื่องมืออย่าง CRM ในการช่วยบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า

 

 



BY : ICE

ที่มา : https://www.wisible.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
Yotpo
Yotpo เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงในด้านการช่วยธุรกิจ E-commerce สร้างการมีส่วนร่วมจากลูกค้าและเพิ่มความเชื่อมั่น
22 ต.ค. 2024
Referral Marketing Platforms
การตลาดแบบแนะนำ (Referral Marketing) เป็นกลยุทธ์ที่ใช้การแนะนำจากลูกค้าปัจจุบันหรือผู้ใช้บริการให้กับผู้อื่น เพื่อสร้างโอกาสในการเพิ่มยอดขาย
22 ต.ค. 2024
Sales Gatekeepers ตำแหน่งที่เซลส์ทุกคนจำเป็นต้องรู้!
Sales Gatekeepers จะต้องทำงานร่วมกันกับตำแหน่งอื่นๆในองค์กร ที่จะคอยช่วยกันวิเคราะห์งานเสนอขาย หลังจากนั้นจะส่งต่อไปยังบุคคลตำแหน่งต่างๆที่สูงกว่า
21 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ